ข้อแนะนำและข้อที่ต้องระมัดระวังในการกรอกใบสมัครงาน 1. ทำความเข้าใจกฎเกณฑ์ของใบสมัคร ในใบสมัครงานอาจมีคำแนะนำ หรือคำสั่งอื่นๆ (ส่วนใหญ่จะอยู่ด้านบนของใบสมัคร) ขอให้ปฏิบัติตามคำแนะนำ หรือคำสั่งนั้น เช่น ให้เขียนหรือพิมพ์ หรือข้อความตอนใดที่ต้องเขียนด้วยภาษาอังกฤษ หรือภาษาไทย เป็นต้น 2. ควรจะต้องเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ไปให้พร้อม เช่น ปากกา ยางลบหมึก 3. ควรจะเตรียมเอกสารต่างๆ ประกอบการสมัครงานให้พร้อมและเรียบร้อย ควรจะนำตัวจริงและถ่ายเอกสารไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งใบประวัติย่อ (Resume) หากเอกสารเหล่านี้ ได้จัดส่งมาแล้วทางจดหมายสมัครงานก็ขอให้ระบุไว้ให้เห็นเด่นชัดในใบสมัครงาน หรืออาจจะแจ้งกับเจ้าหน้าที่รับสมัครงานก็ได้ แต่ก็ควรถ่ายเอกสารเตรียมไปด้วยอีก 1 ชุด เพื่อว่า เจ้าหน้าที่รับสมัครเขาหาไม่เจอจะได้มอบให้เขาไว้เลย 4. ควรจะจดรายละเอียดต่าง ๆ ที่จำเป็นจะต้องใช้ไปให้พร้อม เช่น หมายเลขบัตรประชาชน หมายเลขใบขับขี่ วันที่ออกบัตร สถานที่ออกบัตร วันหมดอายุ ชื่อตำแหน่ง และที่อยู่ของที่ทำงาน รวมทั้งเบอร์โทรศัพท์ของผู้ปกครองพ่อแม่ หรือบุคคลที่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้สมัครได้ นอกจากนี้ควรจะจำปี พ.ศ. ที่จบการศึกษาในแต่ละชั้นเรียนด้วย 5. […]
คุณเหมาะกับงานแบบไหน
คนบางคนใช้เวลาเกือบครึ่งชีวิตกว่าจะค้นเจอว่างานแบบไหนที่ตนเองชอบและใช่ ก็เลยมีแบบสำรวจบุคลิกนิสัยใจคอมาให้ลองตรวจสอบดูว่าคนแบบคุณน่าจะเหมาะกับงานแบบไหน เป็นคนมีเหตุมีผล เต็มไปด้วยหลักการชอบการประมวลเรื่องราวเพื่อค้นหาข้อเท็จจริงให้ปรากฏ ลักษณะเหล่านี้เหมาะจะทำงานด้านการจัดการ บัญชี ช่างไฟฟ้า โปรแกรมเมอร์ รวมไปถึงงานทางด้านเทคนิค คนประเภทอ่อนไหว มีสัญชาตญาณในการดูแลปกป้อง ลองมองหางานประเภทเป็นที่ปรึกษา เป็นพยาบาล หรือสอนหนังสือ คนกระตือรือร้น ชอบพูดคุย มีความทะเยอทะยาน ชัดเจนเลยว่างานที่เกี่ยวข้องกับทีวี วิทยุ โฆษณา น่าจะเหมาะกับคุณ คนมองโลกในแง่ดี อยากรู้อยากเห็นเต็มไปด้วยพลัง น่าจะสนใจอาชีพที่ไม่ต้องอยู่นิ่งตลอดเวลา อย่างเช่น ไกด์หรือมัคคุเทศก์ หรือแม้แต่พนักงานขายที่ต้องเดินทางไปโน่นมานี่บ่อย คนพิถีพิถัน ประณีตเรียบร้อย ชำนาญการวิเคราะห์ ชอบให้คำแนะนำแบบลงลึก อาชีพที่น่าจะเหมาะกับคุณคืองานด้านวิจัย สถิติ หรือสืบสวนสอบสวน คนประเภทเกิดมาเพื่อเป็นผู้นำ ไม่ชอบอยู่ใต้บังคับใคร แต่ขณะเดียวกันก็ชอบอยู่ในสังคมมากกว่าตามลำพัง น่าจะลองมองหาที่ว่างในตำแหน่งที่ได้แสดงพลัง อย่างเช่น ซีอีโอ บรรณาธิการ หรือแม้แต่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คนช่างจินตนาการ เจ้าบทบาทมีความคิดลึกซึ้งในเชิงปรัชญา งานที่จะทำให้คุณสนใจได้ก็คือนักจิตวิทยา จิตแพทย์ นักแสดง และศิลปินทุกแขนงไม่ว่าจะเป็นศิลปะหรือดนตรี คนใจบุญสุนทาน ชอบสั่งสอน […]
คำถามที่ควรระวังในการสัมภาษณ์งาน
เราไม่ควรพูดอะไรให้เสื่อมเสียแก่เจ้านาย หรือที่ทำงานเก่าเป็นอันขาด ซึ่งจะทำให้ไม่เป็นผลดีต่อตัวคุณเองเลย สิ่งที่คุณควรพูด ถึงก็ควรพูดในสิ่งที่เป็นด้านดี ๆ และให้เหตุผลที่ออกจากงานเดิมก็ไม่ควรเป็นเหตุผลที่ให้ร้ายแก่บริษัทเก่า โดยให้เหตุผลกลาง ๆ ไปเช่น “ต้องการความก้าวหน้า” เป็นต้น แต่ในกรณีที่ออกจากที่ทำงานเก่า อาจะเป็นเพราะคุณมีการขัดแย้งกับเจ้านายจริง ๆ คุณคงต้องพูดความจริงกับผู้สัมภาษณ์ เพราะจะดีกว่าให้เขารู้ผ่านคนอื่นในวงการเดียวกัน อาจไม่เป็นผลดีกับคุณ แต่การพูด“ความจริง” คุณก็ควรใช้ศิลปะในการพูดให้ออกมา“ดูดี” เช่น “บริษัทมีการปรับเปลี่ยนหัวหน้าใหม่ และเผอิญรูปแบบการทำงานของกระผมและของเขา มีความแตกต่างกันอยู่บ้าง” หรือหากคุณเปลี่ยนงานจากลักษณะงานเดิม ที่แตกต่างออกไป คุณก็อาจจะตอบว่า “ในที่ทำงานเก่าผมทำงานด้านกราฟิกมาสามปี และตอนนี้ผมอยากเรียนรู้งานด้านบริการลูกค้าดูบ้าง เพราะมีความท้าทายสูง และบริษัทของท่านก็มีชื่อเสียงในด้านนี้มาก” เป็นต้น เมื่อคุณถูกถามจริง ๆ แล้วอาจจะไม่ต้องตอบคำถามให้ยืดยาวก็ได้ พยายามตอบให้ตรงจุด และสั้นมากที่สุด เพราะการตอบแบบยาว ๆ มักจะแสดงให้เห็นถึงการแก้ตัว ผู้ตอบตั้งใจที่จะให้ผู้ฟังเข้าใจว่า ตัวเขานั้นไม่ได้ทำผิดอะไรที่ต้องออกมาจากที่ทำงานเก่า ซึ่งคุณไม่จำเป็นต้องทำแบบนั้นเลย เพราะคนเรานั้นมีการเข้าและออกจากงานกันอยู่ตลอด และผู้ถามก็ไม่ได้ต้องการอะไรมากมาย เพียงแต่อยากให้คุณตอบแบบจริงใจและตรงเป้าหมายซะมากกว่า “ตำแหน่งที่คุณสมัครนั้นต้องใช้ความรู้ทางเทคนิคบางประการในด้านการตลาด คุณคิดว่าทำได้หรือเปล่า?” ความหมายของคำถามทำนองนี้ ผู้ว่าจ้างต้องการดูว่าผู้สมัครมีความรู้จริงในด้านเนื้อหาวิชา […]