เราไม่ควรพูดอะไรให้เสื่อมเสียแก่เจ้านาย หรือที่ทำงานเก่าเป็นอันขาด ซึ่งจะทำให้ไม่เป็นผลดีต่อตัวคุณเองเลย สิ่งที่คุณควรพูด ถึงก็ควรพูดในสิ่งที่เป็นด้านดี ๆ และให้เหตุผลที่ออกจากงานเดิมก็ไม่ควรเป็นเหตุผลที่ให้ร้ายแก่บริษัทเก่า โดยให้เหตุผลกลาง ๆ ไปเช่น “ต้องการความก้าวหน้า” เป็นต้น แต่ในกรณีที่ออกจากที่ทำงานเก่า อาจะเป็นเพราะคุณมีการขัดแย้งกับเจ้านายจริง ๆ คุณคงต้องพูดความจริงกับผู้สัมภาษณ์ เพราะจะดีกว่าให้เขารู้ผ่านคนอื่นในวงการเดียวกัน อาจไม่เป็นผลดีกับคุณ แต่การพูด“ความจริง” คุณก็ควรใช้ศิลปะในการพูดให้ออกมา“ดูดี” เช่น “บริษัทมีการปรับเปลี่ยนหัวหน้าใหม่ และเผอิญรูปแบบการทำงานของกระผมและของเขา มีความแตกต่างกันอยู่บ้าง” หรือหากคุณเปลี่ยนงานจากลักษณะงานเดิม ที่แตกต่างออกไป คุณก็อาจจะตอบว่า “ในที่ทำงานเก่าผมทำงานด้านกราฟิกมาสามปี และตอนนี้ผมอยากเรียนรู้งานด้านบริการลูกค้าดูบ้าง เพราะมีความท้าทายสูง และบริษัทของท่านก็มีชื่อเสียงในด้านนี้มาก” เป็นต้น เมื่อคุณถูกถามจริง ๆ แล้วอาจจะไม่ต้องตอบคำถามให้ยืดยาวก็ได้ พยายามตอบให้ตรงจุด และสั้นมากที่สุด เพราะการตอบแบบยาว ๆ มักจะแสดงให้เห็นถึงการแก้ตัว ผู้ตอบตั้งใจที่จะให้ผู้ฟังเข้าใจว่า ตัวเขานั้นไม่ได้ทำผิดอะไรที่ต้องออกมาจากที่ทำงานเก่า ซึ่งคุณไม่จำเป็นต้องทำแบบนั้นเลย เพราะคนเรานั้นมีการเข้าและออกจากงานกันอยู่ตลอด และผู้ถามก็ไม่ได้ต้องการอะไรมากมาย เพียงแต่อยากให้คุณตอบแบบจริงใจและตรงเป้าหมายซะมากกว่า “ตำแหน่งที่คุณสมัครนั้นต้องใช้ความรู้ทางเทคนิคบางประการในด้านการตลาด คุณคิดว่าทำได้หรือเปล่า?” ความหมายของคำถามทำนองนี้ ผู้ว่าจ้างต้องการดูว่าผู้สมัครมีความรู้จริงในด้านเนื้อหาวิชา […]
Categories
Recent Posts
-
10 ตัวอย่างคำถามในการสัมภาษณ์งาน July 22, 2020
-
10 สัญญาณที่แสดงว่าการสัมภาษณ์งานกำลังไปได้สวย August 9, 2018
-
เทคนิควิธีการกรอกใบสมัครงานที่ดี April 30, 2017
-
คุณเหมาะกับงานแบบไหน March 11, 2016
-
คำถามที่ควรระวังในการสัมภาษณ์งาน March 8, 2016
Archives